ประเภทของดอกไม้

       ในการจำแนกดอกไม้ประดับนั้น เราสามารถจำแนกได้เป็น   2 ประเภทใหญ่ๆคือ  ดอกไม้เมืองหนาว และ ดอกไม้เมืองร้อน เราจึงขอยกตัวอย่าง ทั้งดอกไม้ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มดอกไม้เมืองหนาว และ ดอกไม้เมืองร้อน ให้ทุกคนทราบพอสังเขปว่า ดอกไม้ประดับชนิดไหน อยู่ในประเภทไหน เพื่อที่ให้ทุกคนเกิดความเข้าใจในประเภทนั้นๆ ของดอกไม้ที่ตนเองชื่นชอบ และสนใจ


ตัวอย่างดอกไม้เมืองหนาว (:


ปักษาสวรรค์


ชื่อสามัญ   :Bird of paradise
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strelitzia reginae.
ตระกูล : MUSACEAE
ถิ่นกำเนิด : อัฟริกาใต้


ลักษณะทั่วไป
               ปักษาสวรรค์เป็นพืชที่มีความสวยงามมาก โดยเฉพาะดอกของมันดูแล้วคล้ายกับนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้าปักษาสวรรค์นี้เราจะปลูกไว้เพื่อชมดอกของมันโดยเฉพาะ ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะรูปใข่ แต่ตอนปลายใบจะเรียวแหลมคล้ายกับหอก ใบยาวประมาณ 12-16 นิ้ว ตั้งอยู่บนก้านใบที่แข็งแรงยาวประมาณ 17-18 นิ้ว ปักษาสวรรค์จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุประมาณ 6 ปี นิยมปลูกเป็นกลุ่มตามสนามเพื่อให้ออกดอก ก่อให้เกิดความสดชื่นแก่ผู้พบเห็น







ดอกดาวเรือง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta Linn.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : African marigold
ชื่ออื่น ๆ : คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ)


                                                        ลักษณะทั่วไป
     ต้น :
 เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นทรงพุ่มข้อนข้างทนทาน ลำต้นสูงประมาณ ๓-๔ ฟุต 
ส่วนพรรณไม้ปลีกย่อยนั้นจะสูงประมษณ ๑-๓ ฟุต
     ใบ : ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนดาวกระจาย มีสีเขียว ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลลมออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ใบดก
     ดอก : ดาวเรืองนี้แบ่งออกเป็นพรรณย่อยอยู่หลายพรรณ ซึ่งในแต่ละพรรณนั้นจะมีลักษณะของดอกที่ต่างกันมีทั้งกลีบซ้อนและไม่ซ้อน และสีก็มีหลายสีเช่น เหลือง ส้ม ขาวนวล เหลืองแต้มแดง แสด ดาวเรืองเป็นดาวเดี่ยว รูปทรงดอกเป็นวงกลมดอกจะดก เวลาออกดอกจะเหลืองเต็มต้นดูสวยงาม
     การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดด ปลูกง่ายทนกับดินทุกสภาพไม่ต้องรดน้ำบ่อยนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
     ประโยชน์ : ใบ เป็นยาเย็น ใช้ทาแผลเนาเปี่อย ฝีต่าง ๆ น้ำคั้นจาใบ้ใช้หยอด แก้เจ็บหู ดอก แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาฟอกเลือด ขับลม ละลายเสมหะ ไอ หลมดลมอักเสบ ปรุงกับตับไก่เป็นยาบำรุงสายตา ดอกแห้งบดเป็นผงผสมกับอาหารไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้มขึ้น ดอกสดเป็นอาหาร และทำดอกไม้ประดิษฐ์
     อื่น ๆ : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเม็กซิโ





ดอกหน้าวัว


ชื่อสามัญ : Anthurium
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthurium andraeanum
ตระกูล : Araceae (arum)
ถิ่นกำเนิด : โคลัมเบีย



                                                      ลักษณะทั่วไป
       หน้าวัวเป็นไม้พุ่มเตี้ยใช้ปลูกคลุมดิน มีอายุหลายปี เติบโตเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอลำต้สั้นหรือยืดยาว คล้ายไม้เลื้อยและทิ้งใบช่วงล่างของต้นพร้อมทั้งเกิดรากใหม่​ที่บริเวณ เป็นไม้ตัดดอกที่มีรูปร่างแปลกตา สีสันสดสวย ออกดอกได้ตลอดปี ใบของหน้าวัวมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น รูปหัวใจ รูปใบหอก รูปสามเหลี่ยม หรือใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบแตกออกจากลำต้นเรียงเวียนสลับกัน ขนาดและสีต่างกันไปตามชนิดและพันธุ์ดอกของหน้าวัวเกิดจากตาดอกที่ซอกของใบ ปกติตาดอก และ ใบอ่อนจะเกิดพร้อมกัน แต่ตาดอกจะพัฒนาขึ้นมาหลังจากใบแก่สมบูรณ์แล้​ว ดังนั้นต้นที่โตเร็วจึงมักจะให้ดอกดก ดอกหน้าวัวมีสวนประกอบด้วยช่อดอกที่เรียกว่า ปลี ซึ่งอาจมีสีขาวเหลือง หรือขาวปลายสีเหลือง และจานลองดอกหรือที่เรียกว่า ดอก นั่นเอง จานลองดอกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ใบประดับ มีลักษณะคล้ายใบติด ที่โคนปลีหน้าวัวสีของจานรองดอกมีหลากสี เช่น ขาว เขียว ชมพู ส้ม แดง ม่วง หรือมีหลายสีปนกัน อาจเรียบหรือย่นเป็นร่องชึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่​า ร่องน้ำตา ซึ่งอาจตื้นลึกต่างกันไปตามพันธุ์




ดอกรักเ้ร่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Dahlia spp.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Dahlia
ชื่ออื่นๆ : รักเร่

                                            ลักษณะทั่วไป
รักเร่เป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามไม่แพ้ไม้ดอกชนิดอื่น สวยทั้งรูปทรงของดอกและมีสีสรรสวยสะดุดตามาก ก้านดอกแข็งแรงทนทาน ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก แต่ ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกกันมากนักอัน เนื่องมากจากชื่อที่ไม่เป็นมงคลนั้นเอง รักเร่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก ที่ได้ชื่อว่า Dahlia นี้ก็เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ Dr. Andreas Dahl ชาวสวีเดน



ดอกขมิ้นต้น



ชื่อท้องถิ่น : ขมิ้นต้น
ชื่อสามัญ : ขมิ้นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mahoniasiamensis Takeda
ชื่อวงศ์ : BERBERIDACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท :  ไม้พุ่ม


                                                                 ลักษณะทั่วไป
                    เป็นไม้พุ่ม หรือต้น ขนาดเล็ก สูง 2 - 5 ม. เปลือกนอก สีน้ำตาลเป็นค็อกหนา แตกป็นร่องลึก เปลือกในสีเหลือง เรือนยอด เป็นกลุ่มใบดกหนา เฉพาะส่วนยอดไม่เป็นระเบียบ











ตัวอย่างดอกไม้เขตร้อน :)



ปทุมมา

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Siam Tulip
ชื่อวงศ์  : Zingiberaceae
ชื่อสามัญCurcuma
ชื่ออื่นๆ : ดอกปทุมมา
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินโดจีน พม่า และไทย
การขยายพันธุ์ : แยกลำ, แยกหน่อ

ลักษณะทั่วไป
    ปทุมมา เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลำต้นสะสมอาหารอยู่ใต้ดินแบบเหง้า มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและให้ดอกในช่วงฤดูฝนราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน จากนั้นจะทิ้งใบจนหมดแล้วพักตัวอยู่ในดินตลอดช่วงฤดูหนาวราวเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อถึงฤดูฝนก็จะเจริญเติบโตออกดอกอีกครั้ง ดอกปทุมมามีรูปทรงสง่าและมีสีสันสวยงาม เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น จนได้รับการส่งเสริมให้เป็นไม้ตัดดอกและเก็บหัวพันธุ์เพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศ เป็นที่ประทับใจและชื่นชอบของชาวต่างประเทศจนได้สมญาว่า สยามทิวลิป (Siam Tulip)
          ปทุมมา จัดเป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับขิงและข่า อยู่ในสกุล Curcuma มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบประเทศอินโดจีน พม่า และไทย สำหรับในประเทศไทยจะพบเห็นปทุมมาได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากที่สุด ไม้ในสกุลนี้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มปทุมมา  พบได้ทั่วไปในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร  ส่วนใหญ่มักพบอยู่ตามทุ่งหญ้าที่โล่งแจ้งบริเวณชายป่าเบญจพรรณหรือบริเวณชั้นล่างของป่าเต็งรัง  ลักษณะช่อดอกในกลุ่มปทุมมาจะแทงช่อดอกออกมาจากส่วนกลางของลำต้นเทียม  ก้านช่อดอกยาวตรง  ดอกจริงมีสีม่วงหรือสีม่วงอ่อน  ไม้ในกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่สามารถนำมาผลิตเป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และไม้ประดับแปลง  เช่น ปทุมมา บัวสวรรค์ บัวลายปราจีน บัวลายลาว เทพรำลึก ทับทิมสยาม ช่อมรกต และปทุมรัตน์  เป็นต้น

กลุ่มกระเจียว  กลุ่มนี้มีอยู่หลายชนิดพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย  ชนิดที่พบขึ้นในที่โล่งแจ้งมักจะมีลักษณะใบหนา มีขนมาก  ส่วนพวกที่พบขึ้นในป่าชื้นมักจะมีลักษณะใบบาง  ลักษณะของช่อดอกจะเป็นทรงกระบอก  อาจแทงช่อดอกขึ้นมาจากเหง้าโดยตรงหรือออกจากทางด้านข้างของลำต้นเทียม  ดอกจริงมีสีขาวหรือเหลือง  หลายชนิดในกลุ่มนี้สามารถผลิตเป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถางได้เช่นกัน  ที่สำคัญได้แก่  บัวชั้น  กระเจียวส้ม  พลอยไพลิน  พลอยทักษิณ  และพลอยชมพู  เป็นต้น




บอนสี

ชื่อวิทยาศาสตร์Caladium bicolor Vent.
ชื่อวงศ์: ARACEAE
ชื่อสามัญ: Fancy Leaved Caladium, Heart of Jesus
ชื่อท้องถิ่น: บอนฝรั่ง
ลักษณะวิสัยไม้พุ่ม



                                                       ลักษณะทั่วไป
หัว        -  มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่งหรือหัวเผือก  มีรากฝอยขนาดเล็กแตกรอบๆ หัว 
และที่ใกล้ๆ กับหัวราก  หรือระหว่างรากจะมีหน่อเล็ก ๆหรือที่เรียกกันว่า  เขี้ยว
ซึ่งสามารถงอกออกเป็นบอนต้นใหม่ได้

ใบ        - บอนสีมีมาแต่โบราณมีรูปร่างคล้ายหัวใจ  หูใบยาวแต่ไม่ฉีกถึงสะดือ 
ก้านใบอยู่กิ่งก้านใบ  ปลายใบแหลมหรือมนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  บอนไทย
ใบมักมีใบขนาดใหญ่สีสันสวยงามและใบดกไม่ทิ้งใบ

กาบ      - คือส่วนที่ต่อจากหัวบอนกาบเป็นส่วนโคนของก้านใบ  แต่ไม่กลมเหมือน

ก้านใบคือมีลักษณะเป็นกาบ  คล้ายกาบใบผักกาด

ก้านใบ  - คือส่วนที่ต่อจากกาบใบขึ้นไปยังใบบอนที่กาบและก้าน  ใบนี้จะมีลักษณะ

ของสีแตกต่างไปจากสีของกาบใบอย่างเห็นได้ชัด

สะโพก - คือส่วนด้านข้างของใบทั้งสองข้าง  อยู่บริเวณเหนือหูใบหรือแนวตรงกับ

สะดือใบ มีลักษณะเว้าคอดลงจะเห็นได้ชัดในบอนใบไทย

ประโยชน์ -ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงาม  ที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรง
และ สีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งใบไม้"

การขยายพันธุ์- การแยกหน่อ  การผ่าหัวบอน  การเพาะเมล็ด

การกระจายพันธุ์- ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไป



ตะบองเพชร

ชื่อวิทยาศาสตร์Cereus hexagonus   L.   Mill.
ชื่อวงศ์: CACTACEAE
ชื่อสามัญTorch Thiste
ชื่อท้องถิ่น:  ตะบองเพชร, ปะทำมังหลวง, เขียะ


                                                              ลักษณะทั่วไป

    ไม้อวบน้ำทนแล้งเกือบทั้งหมดที่เป็นพืช มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนที่ปรับเปลี่ยน
ลำต้นให้อวบน้ำ และ เปลี่ยนใบเป็นหนาม สามารถเจริญเติบโตได้ในแนบไม้ต้น 
ไม้เลื้อยหรือพืชอิงอาศัย ลำต้นมีความสูงประมาณ 3 เมตร ดอกเด่นสะดุดตา 
มีกลีบจำนวนมาก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ รู้จักกันดีในชื่ แคคตัส
หรือ กระบองเพชร


ประโยชน์   นิยมปลูกเป็นไม้กระถางกลางแจ้ง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด  แยกหน่อ




ทานตะวัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Common Sunflower
ชื่ออื่นๆ : ทานตะวัน
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาตะวันตก
 
         
                                                           ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่อายุเพียง 1 ปี ลักษณะของลำต้นเป็นแกนแข็ง ตั้งตรง มีขนขึ้น
เป็นกลายแข็ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-3.5 เมตร

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม
 ริมขอบใบหยักย่อยเป็นแบบฟันปลา บริเวณหลังและใต้ท้องใบ มีขนสากขึ้นประปราย 
ใบมีขนาดยาวประมาณ 4-12 นิ้ว กว้างประมาณ 3.5-10 นิ้ว ก้านใบยาว

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุก ขนาดใหญ่จะออกบริเวณยอด หรือรอบ ๆ ลำต้น
 ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน แล เกสร
ตัวผู้ 5 อัน กลีบดอกวงในมีสีเหลือง ส่วนกลีบดอกวงนอกมีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองทอง 
มีขนาดยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ฐานดอกมีสีเขียวเชื่อมติดกัน

ผล : มีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีสีขาว สีเทา หรือสีดำ ขนาดยาวประมาณ 6-17 มม. 
ภายใน ผลมีเมล็ด เพียง 1 เมล็ดเป็นสีเหลืองอ่อน

การขยายพันธุ์ : ทานตะวันเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ 
มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด เพาะ

ส่วนที่ใช้ : ดอก ฐานรองดอก แกนลำต้น ใบ เมล็ด เปลือกเมล็ด และราก




บานไม่รู้โรย

ชื่อวิทยาศาสตร์Comphrena globosa
วงศ์ : Amaranthaceae
ชื่อสามัญ : Gomphrena , Globe Amaranth
 ชื่ออื่น ๆ : บานไม่รู้โรย

                                                              ลักษณะทั่วไป

               บานไม่รู้โรยเป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันมานาน เพราะประโยชน์ใช้สอยมีมากมาย สามารถใช้ได้ทั้งงานมงคลจนกระทั่งงานศพ บานไม่รู้โรยเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่ายมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกา ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ